วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559

ตัวอย่างโครงงานและการประกวดโครงงาน


การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษา กศน. ประจำปีงบประมาณ 2558 | ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
เผยแพร่เมื่อ 12 ม.ค. 2016
แหล่งที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=xoHucLLxV2A

โครงงานวิทยาศาสตร์ในรายวิชาวิทยาศาสตร์


เผยแพร่เมื่อ 27 พ.ค. 2015
เผยแพร่โดย สำนักงาน กศน.จังหวัดกระบี่
แหล่งที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=Xy9-DtAvFKM

วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559

ประโยชน์ของการทำโครงงาน

1. ทำให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำงาน ประสานงานและติดต่อกับหน่วยงานต่าง ๆ
2. ทำให้กล้าคิด กล้าแสดงออก ต่อที่ประชุม/ชุมชนมากขึ้น
3. ทำให้รู้จักหน้าที่ และมีความรับผิดชอบมากขึ้น

มุมสะท้อนความคิดเกี่ยวกับโครงงาน

การสะท้อนความคิด (Reflections) เป็นกระบวนการฝึกการคิดของบุคคลให้มีมุมมองที่กว้างมากขึ้น ทั้งนี้ต้องมีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ บ้างหรือควรทำการศึกษาเพิ่มเติมและมีการจัดเก็บข้อมูลไว้เมื่อเรากลับมาอ่านอีกครั้งเราจะสามารถเข้าใจได้ง่ายกว่าการที่เราสรุปเนื้อหาจากหนังสือหรือลอกเรียนจากผู้อื่น

แหล่งที่มาของข้อมูล : สื่อรายวิชาเลือก โครงงานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้  รหัสวิชา ทร02006

การเขียนเค้าโครงของโครงงาน

การทำโครงงานการดำเนินงานในขึ้นนี้ ต้องใช้พลังงานสมองของผู้ร่วมงานทุกคนให้มองเห็นภาระงานของกลุ่มตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้น รวมทั้งได้ทราบถึงบทบาทและระยะเวลาในการดำเนินงานอย่างชัดเจนจากนั้นจึงเขียนเป็นเค้าโครงของโครงงาน ประกอบด้วย

ขั้นตอนและกระบวนการในการทำโครงงาน

โครงงานเป็นกิจกรรมที่ต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง  ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั้งเสร็จสิ้นโครงงาน  ซึ่งผู้เรียนจะต้องเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งสิ้น มีขั้นตอนที่สำคัญซึ่งสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2531) ได้กำหนดไว้ดังนี้

การนำเสนอผลงานโครงงาน

การนำเสนอผลงานโครงงานเป็นการแสดงออกถึงผลที่ได้จากการศึกษา เป็นการแสดงถึงความคิดเห็น ความพยายามในการทำงานของผู้ทำโครงงานและเป็นวิธีที่แสดงถึงผลงานที่ได้ให้ผู้อื่นได้รับรู้ในผลงาน ประกอบด้วย

การเขียนรายงานโครงงาน

การเขียนรายงานโครงงาน มีองค์ประกอบ 3 ส่วนได้แก่ ส่วนนำ ส่วนเนื้อหา ส่วนอ้างอิง แยกรายละเอียดดังนี้

การลงมือทำโครงงาน

เป็นการลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนที่ระบุไว้ในเค้าโครงของโครงงานที่เสนอต่อครูที่ปรึกษาในการทำโครงงาน สิ่งที่ผู้เรียนควรคำนึงถึง ได้แก่ การเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่ให้พร้อมก่อนทำโครงงาน

การวางแผนการทำโครงงาน

เป็นขั้นตอนที่สำคัญเพราะเป็นการระดมความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่มให้มองเห็นภาระงานของกลุ่มทั้งหมดอย่างชัดเจน และเป็นการสร้างแผนที่ความคิด และภาพรวมความสำเร็จของโครงงาน  จากนั้นจึงเขียนเป็นเค้าโครงของโครงงานต่อไป

การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องที่จะทำโครงงาน

เมื่อตกลงทำโครงงานเรื่องใดแล้วผู้เรียนจะต้องไปศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทำโครงงานซึ่งจะทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพิ่มมาก รวมทั้งทำให้ทราบขอบข่ายในการทำโครงงาน ว่าจะต้องทำอะไร ทำไมต้องทำ ต้องการให้เกิดอะไร ทำอย่างไร ใช้วัสดุ อุปกรณ์อะไร ทำกับใคร เสนอผลงานอย่างไร 

การสำรวจปัญหาเพื่อเลือกเรื่องที่จะทำโครงงาน

ผู้เรียนต้องมีการรวมกลุ่มเพื่อนำเสนอปัญหาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต หรือเรื่องที่เรียนรู้มา หรือจากการศึกษาเอกสารต่างๆ เพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลประกอบการคัดเลือกหัวเรื่องในการจัดทำโครงงาน เพราะโครงงานที่ดีคือโครงงานที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

แหล่งที่มาของข้อมูล สื่อรายวิชาเลือก โครงงานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้  รหัสวิชา ทร02006

การเตรียมจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

การทำโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องและมีการดำเนินการหลายขั้นตอน คือ
1.การสำรวจปัญหาเพื่อเลือกเรื่องที่จะทำโครงงาน
2.ศึกษาค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะทำโครงงาน

ตัวอย่างโครงงานเครื่องเหลาตอกไม้ไผ่ กศน.อำเภอเมืองน่าน

โครงงานสิ่งประดิษฐ์เครื่องเหลาตอกไม้ไผ่ 

สาระน่ารู้เกี่ยวกับโครงงาน



เผยแพร่เมื่อ 28 มิ.ย. 2015
Science Stories วิทยาศาสตร์ดีๆมีรอบตัว ตอน 1 คิดต่างอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ 

แหล่งที่มาข้อมูล : ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักงาน กศน. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ 
ผลิตรายการ : สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ETV

ประเภทของโครงงาน

โครงงานแบ่งออกเป็น 4 ประเภท  ดังนี้
            1.  โครงงานประเภทสำรวจและรวบรวมข้อมูล
            2.  โครงงานประเภทค้นคว้าทดลอง
            3. โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์
            4.  โครงงานประเภทการศึกษาความรู้  ทฤษฎี  หลักการและแนวคิดใหม่ ๆ   

แหล่งที่มาของข้อมูล สื่อรายวิชาเลือก โครงงานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้  รหัสวิชา ทร02006

ความหมายและความสำคัญของโครงงาน

โครงงาน เป็นกิจกรรมที่ทำให้ได้เรียนรู้ด้วยตนเองจากการลงมือปฏิบัติจริงในลักษณะของการศึกษา สำรวจ ค้นคว้า ทดลอง ประดิษฐ์คิดค้น  ซึ่งผู้เรียนเป็นผู้คิดค้นหัวเรื่อง จัดหาข้อมูล  ทดลอง สรุปผล เขียนรายงาน โดยมีครูเป็นผู้กระตุ้นแนะนำและให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด

โครงงานประเภทการศึกษาความรู้ ทฤษฎี หลักการ และแนวคิดใหม่

 เป็นโครงงานที่มีจุดประสงค์เพื่อสนองความรู้  ทฤษฎี  หลักการ  หรือแนวคิดใหม่ๆ  เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ยังไม่เคยมีใครคิดมาก่อน  หรือขัดแย้ง  หรือขยายของเดิมที่มีอยู่ซึ่งความรู้  ทฤษฎี

โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์

เป็นโครงงานที่มีจุดประสงค์ที่จะนำความรู้ ทฤษฎี หลักการ หรือแนวคิดมาระยุกต์ใช้ในการประดิษฐ์เครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ในด้านการเรียนหรือการใช้สอยอื่นๆ รวมทั้งการออกแบบจำลองต่างๆ เพื่อประกอบการอธิบายแนวคิดต่างๆ

โครงงานประเภทค้นคว้าทดลอง

โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ มีการ ออกแบบทดลองเพื่อศึกษาว่าตัวแปรหนึ่งจะมีผลต่ออีกตัวแปรที่ต้องการอย่างไร และต้องควบคุมตัวแปรอื่น ๆ  ซึ่งอาจมีผลต่อตัวแปรที่ต้องการศึกษาได้

โครงงานประเภทสำรวจและรวบรวมข้อมูล

โครงงานประเภทนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจ และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  แล้วนำข้อมูลที่ได้จาการสำรวจนั้นมาจำแนกเป็นหมวดหมู่ และนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ อย่างมีระบบ  เพื่อให้เห็นถึงลักษณะหรือความสัมพันธ์ของเรื่องดังกล่าวให้ชัดเจนยิ่งขึ้น