โครงงานสิ่งประดิษฐ์เครื่องเหลาตอกไม้ไผ่
การศึกษาโครงงานสิ่งประดิษฐ์เรื่อง
เครื่องเหลาตอกไม้ไผ่ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประดิษฐ์เครื่องเหลาตอกไม้ไผ่ 2)
เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องเหลาตอกไม้ไผ่ และ 3)
เพื่อปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาเครื่องเหลาตอกไม้ไผ่ให้มีประสิทธิภาพที่ดี
มีวิธีดำเนินการ 3 ขั้นตอน
คือ ขั้นตอนที่ 1 การประดิษฐ์เครื่องเหลาตอกไม้ไผ่ โดยการดัดแปลงจากอุปกรณ์ที่มีผู้เคยทำไว้แล้ว
ได้อุปกรณ์ที่มีความเหมาะสมกับการใช้งาน คือ
ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีในท้องถิ่น ต้นทุนในการผลิตต่ำ เหลาตอกง่าย ได้ปริมาณมาก ใช้งานสะดวก ปลอดภัยและสามารถใช้งานได้ดีจริง ขั้นตอนที่ 2 การทดสอบประสิทธิภาพเครื่องเหลาตอกไม้ไผ่ โดยเปรียบเทียบด้านปริมาณและด้านคุณภาพของเส้นตอกระหว่างการเหลาตอกด้วยมือกับการเหลาด้วยเครื่องเหลาตอกไม้ไผ่
เครื่องที่ 1 ด้านปริมาณเส้นตอก พบว่า
เครื่องเหลาตอกไม้ไผ่เครื่องที่ 1 สามารถเหลาตอกได้มากกว่าการเหลาด้วยมือ
ประมาณ 2 เท่า ด้านคุณภาพเส้นตอก พบว่า
ตอกที่เหลาด้วยเครื่องเหลาตอกไม้ไผ่ เครื่องที่ 1
มีความหนา-บางและความเรียบเนียน
สม่ำเสมอเท่ากันเกือบทุกเส้นดีกว่าตอกที่เหลาด้วยมือ ขั้นตอนที่ 3 การปรับปรุง แก้ไขและพัฒนาเครื่องเหลาตอกไม้ไผ่
โดยนำปัญหาและข้อเสนอแนะจากผู้ทำการทดสอบในขั้นตอนที่ 2 มาปรับปรุง แก้ไขเครื่องเหลาตอกไม้ไผ่ จนได้เครื่องเหลาตอกไม้ไผ่เครื่องที่ 2 แล้วนำไปเปรียบเทียบกับเครื่องเหลาตอกไม้ไผ่ เครื่องที่ 1 (เครื่องที่ทำครั้งแรก) และการเหลาด้วยมือ ด้านปริมาณเส้นตอก พบว่า
เครื่องเหลาตอกไม้ไผ่เครื่องที่ 2 สามารถเหลาตอก
ได้มากกว่าเครื่องที่ 1 ประมาณ 1.23 เท่า และมากกว่าเหลาด้วยมือ 2.48 เท่า
ด้านคุณภาพเส้นตอก พบว่า ตอกที่เหลาด้วยเครื่องเหลาตอก
เครื่องที่ 2 มีความหนา – บางและความเรียบเนียนสม่ำเสมอทุกเส้น ได้มาตรฐานใกล้เคียงกับเครื่องที่ 1 มีคุณภาพมากกว่าตอกที่เหลาด้วยมือที่ไม่ได้มาตรฐาน
ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ชื่อโครงงาน เครื่องเหลาตอกไม้ไผ่
ชื่อผู้ทำโครงงาน 1. นางกาญจนา สุทธิ 2. นางถวิล ฉัตรทอง 3. นางสาวคะนึงนิตย์ แคแดง
นักศึกษา กศน.ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กศน.อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
อาจารย์ที่ปรึกษา 1. นางสาวชลธิชา ก๋าแก้ว
2. นายปณิธาน จินะ
ระยะเวลาการศึกษา วันที่ 27 มิถุนายน - 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น