วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2559

ตัวอย่างโครงงานตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์แบบครัวเรือน กศน.อำเภอเมืองน่าน


ชื่อโครงงาน               ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์แบบครัวเรือน
ชื่อผู้ทำโครงงาน         1.นายณัฐชา  หมอรักษา 2.นางนิทัยรัตน์   สายอาริน  3.นางสาวสาครินท์  ดวงเขียว
                              นักศึกษา กศน.ตำบลบ่อสวก ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  กศน.อำเภอเมืองน่าน  
อาจารย์ที่ปรึกษา          นางสาวชลธิชา     ก๋าแก้ว
ระยะเวลาการศึกษา      วันที่ 2 กรกฎาคม - 17 กรกฎาคม พ.. 2558

    การศึกษาโครงงาน เรื่อง ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์แบบครัวเรือน  มีวัตถุประสงค์ เพื่อประดิษฐ์ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์แบบครัวเรือน เป็นการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน และเพิ่มคุณภาพในการถนอมอาหาร 
มีวิธีดำเนินการ 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การประดิษฐ์ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์แบบครัวเรือน  โดยการดัดแปลงจากวัสดุอุปกรณ์ที่มีหาได้ง่ายในครัวเรือน เพื่อให้ได้ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์แบบครัวเรือน ช่วยอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน โดยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานทดแทน   มีต้นทุนต่ำ ใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เหมาะสำหรับใช้ในครัวเรือนและเพิ่มคุณภาพในการถนอมอาหาร สามารถใช้งานได้จริง  แต่ยังมีข้อจำกัดในการใช้ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์แบบครัวเรือน ต้องขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศและช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม ขั้นตอนที่ 2 การทดสอบประสิทธิภาพของตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์แบบครัวเรือน  โดยเปรียบเทียบด้านปริมาณและด้านคุณภาพของเนื้อหมูทดสอบประสิทธิภาพโดยการเปรียบเทียบปริมาณเนื้อหมูจากการใช้ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์แบบครัวเรือนและการตากแห้งแบบธรรมดา พบว่า เนื้อหมูจากการใช้ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์แบบครัวเรือน น้ำหนักเฉลี่ย 45 กรัม คิดเป็นร้อยละ 45 เนื้อหมูที่ตากแห้งธรรมดา น้ำหนักเฉลี่ย 75 กรัม คิดเป็นร้อยละ 75 เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว เนื้อหมูจากการใช้ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์แบบครัวเรือนมีความชื้นน้อยกว่าตากแห้งแบบธรรมดา ประมาณ1.67 เท่า และไม่มีฝุ่นละอองและเศษปลายหญ้าหล่นใส่เนื้อหมู ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น